เตรียมรับมือกับการล้วงข้อมูลภายในคอมพิวเตอร์

รับมือกับการล้วงข้อมูล

ปัญหาการถูกล้วงข้อมูลจากโลกไซเบอร์ในปัจจุบันนับว่าเป็นสิ่งที่น่ากลัวและน่ากังวนเป็นอย่างมาก เพราะข้อมูลของเราเกือบทุกอย่างล้วนแล้วแต่ถูกบรรจุใส่ลงไปในรูปแบบดิจิตอลกันเกือบทั้งหมดทั้งมวลแล้วก็ว่าได้ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นดาบสองคมที่มีทั้งด้านดีในเรื่องของความสะดวกและด้านร้ายที่หากข้อมูลหลุดแล้วจะถูกมิจฉาชีพนำไปใช้ในด้านไม่ดีหรือทำให้เราเสียเงินได้ในอนาคต บทความนี้จึงอยากขอแนะนำท่านผู้อ่านให้พบกับการ “เตรียมรับมือกับการล้วงข้อมูลภายในคอมพิวเตอร์” เพื่อเป็นการระวังและป้องกันกันครับ จะทำอย่างไรได้บ้างนั้น…เราดูกันเล้ย!!

ภัยทางไซเบอร์เป็นอย่างไร?

ภัยคุกคามทางไซเบอร์ถือเป็นภัยคุกคามใหญ่หลวงต่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ตลอดจนความมั่นคงของประเทศ การโจมตีทางไซเบอร์มีหลายรูปแบบ เช่น การเจาะระบบคอมพิวเตอร์ (hacking) การสอดแนมข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยสปายแวร์ การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ (sniffing) การโจมตีโดยชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ (Malicious Software : Malware) หรือการรุมสอบถามข้อมูลจนระบบล่ม (Denial of Service Attack : DOS) เป็นต้น การโจมตีแต่ละครั้งล้วนสร้างความเสียหายอย่างมหาศาล ทั้งต่อความมั่นคง ความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ตลอดจนระบบเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศเสียหายได้อย่างมหาศาลครับ ซึ่งเราสามารถยกตัวอย่างได้ดังต่อไปนี้

●Malware ถือว่าเป็นภัยคุกคามรุ่นบุกเบิก Malware มาจากคำว่า “Malicious” ผสมกับ “Software” หรือที่คนส่วนใหญ่จะเรียกกันว่า “ไวรัส” นั่นเอง ภัยคุกคามประเภทนี้ มักแฝงตัวมากับไฟล์ที่เราดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ อีเมล หรือจากอุปกรณ์เสริมที่เชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ Ransom ware เองก็ถือว่าเป็นหนึ่งในประเภทของ Malware ด้วย ซึ่งหากมี Malware อยู่ในคอมพิวเตอร์แล้ว ก็จะสามารถสร้างความเสียหายได้มากเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการทำลายข้อมูล หรือแม้แต่การเข้าควบคุมระบบของคุณ

●Phishing ภัยคุกคามทางอีเมล แน่นอนว่าคนส่วนหนึ่งจะเรียนรู้ความอันตรายของ Malware กันไปแล้ว ก็จะมีความระมัดระวังตัวมากขึ้นในเกิดเปิดไฟล์แปลกปลอม ดังนั้นอาชญากรไซเบอร์ จึงพัฒนารูปแบบไปอีกขั้น รูปแบบการโจมตีนี้ จะแสร้งมาในรูปแบบของอีเมลจากบุคคลที่สามารถไว้วางใจหรือสั่งการได้ เช่น ผู้บริหาร หรือองค์กรที่น่าเชื่อถือ ทั้งรูปแบบของภาครัฐ หรือเอกชน พร้อมแนบไฟล์ที่ฝัง Malware ไว้ อาจมีข้อความแจ้งคุณว่า พบการฉ้อโกงเกิดขึ้นกับบัญชีของคุณ แนะนำให้กรอกข้อมูล หรือเปิดไฟล์บางอย่าง เพื่อให้คุณติดกับและติดตั้ง Malware นั่นเอง

4 วิธีป้องกันการถูกล้วงข้อมูล

ตั้งรหัสผ่านป้องกันในอุปกรณ์ต่างๆ บางคนบอกว่าการนั่งพิมพ์รหัสผ่านเป็นการเสียเวลาโดยใช่เหตุ แต่การไม่รหัสผ่านสำหรับการเข้าถึงอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ต่างอะไรกับการเปิดประตูบ้านหรือประตูรถทิ้งเอาไว้แต่ตัวคุณไม่อยู่ ถ้าหากคุณโชคดีก็ไม่มีอะไรเสียหาย แต่ถ้าหากโชคร้ายข้อมูลสำคัญหรือข้อมูลลับต่างๆจะถูกขุดคุ้ยออกมาจนหมด

●Google Alert ช่วยเตือน ใช้บริการ Google Alert ที่จะใช้แจ้งเตือน เมื่อชื่อหรือข้อมมูลส่วนตัวเรา ไปอยู่ในโลกออนไลน์ Google Alert จะทำการเตือนเราผ่านอีเมลล์ ซึ่งทำให้เราสามารถจัดการข้อมูลของเราได้อย่างทันท่วงที

ลงชื่อออกทุกครั้งหลังจากใช้งานเสร็จ เช่นการลงชื่อออก หรือ Sign out จะช่วยลดการถูกติดตามหรือแกะรอยข้อมูลของคุณในโลกอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้ยังป้องกันจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์ต่อจากคุณมาแอบดูข้อมูลส่วนตัวอีกด้วย (ในกรณีใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะ) มิฉะนั้นแล้วผลร้ายจะตามมา

ตั้งให้ห้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสอัปเดตอยู่เสมอ การมีซอฟต์แวร์ป้องกันเป็นขั้นตอนแรก ขั้นตอนต่อมาคือการบำรุงดูแลรักษา แม้ว่าเราใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสแบบฟรีก็ยังดีกว่าไม่มีอะไรเลย แต่ขอเน้นย้ำว่าวิธีนี้อาจไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด บริษัท Microsoft เองก็เตรียมแพคเกจความปลอดภัยแบบใช้งานได้ “ฟรี” คุณได้สิทธ์ใช้งานฟรีเพียงแค่มี Windows ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่คุณต้องจ่ายเงินค่าลิขสิทธิ์ Windows ผู้ใช้งานหลายคนไม่เคยทราบว่ามีโปรแกรมนี้อยู่ แต่ทว่าโปรแกรมนี้เป็นการป้องกันที่ดี

และนี้ก็คือการ “เตรียมรับมือกับการล้วงข้อมูลภายในคอมพิวเตอร์” ที่เราได้นำมาฝากทุกๆ ท่านกันครับ หวังว่าจะเป็นการช่วยเหลือและเตรียมตัวให้ทุกๆ ท่านพร้อมสำหรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในภายภาคหน้านะครับ

You Might Also Like